ข้าวสังข์หยดพัทลุง อินทรีย์ ตราทุ่งชัยรอง

วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2566

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านท่าช้าง

 “ศูนย์ข้าวชุมชน” ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยการกำกับดูแลของกรมการข้าว เป็นศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเพื่อช่วยกระจายสู่พี่น้องเกษตรกร 


🟢 ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านท่าช้าง ในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ก็เป็นหนึ่งในศูนย์ข้าวที่มีความโดดเด่นในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวภายใต้มาตรฐาน GAP จนได้รับรางวัลชนะเลิศผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่น ระดับภาคใต้มาแล้ว


มาในปีนี้ คุณอำมร สุขวิน ประธานศูนย์ข้าวชุมชนบ้านท่าช้างบอกว่า ทางศูนย์ฯ ได้เข้าร่วม “โครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ปีงบประมาณ 2566”  โดยทางกลุ่มมีสมาชิกทั้งสิ้น 20 ราย พื้นที่การปลูกรวม 200 ไร่ ทำการปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง ช่วงเดือนมกราคมไปเก็บเกี่ยวช่วงเดือนเมษายน และช่วงมิถุนายนไปเก็บเกี่ยวช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน


🟢 โดยแบ่งพื้นที่สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 12 ไร่ พื้นที่ที่เหลือปลูกข้าวคุณภาพภายใต้มาตรฐาน GAP พันธุ์ข้าวที่ปลูก คือ ข้าว กข 41 กข 43  กข 61 ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีประมาณ 5 ตัน นอกจากนี้ยังมีอีก 20 ไร่ ปลูกข้าวสังข์หยด และ กข43 อินทรีย์  ได้ผลผลิตเฉลี่ย 450-460 กก./ไร่


คุณอำมรบอกว่ารายได้ส่วนใหญ่ของสมาชิกมาจากการจำหน่ายข้าวคุณภาพ  ปัจจุบันราคาข้าวทั่วไปอยู่ที่ 9,000-10,000 บาท/ตัน หากเป็นข้าวอินทรีย์จะขายได้ในราคาสูงกว่าคือ 15,000-18,000 บาท/ตัน โดยทำเป็นข้าวถุงขนาด 1 กิโลกรัม จำหน่ายกิโลกรัมละ 70 บาท 



🟢 ซึ่งนอกจากนี้ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านท่าช้างยังได้สถาบันการศึกษารวมถึง ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดพัทลุง โดยกรมการข้าว ช่วยสนับสนุนองค์ความรู้และเครื่องไม้เครื่องมือ เพื่อต่อยอดแปรรูปข้าวสังข์หยดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ สบู่บำรุงผิว น้ำมันรำข้าว คุกกี้  จมูกข้าว ข้าวยำกรอบ ผงโรยข้าว ภายใต้แบรนด์โนชร่า โดยขายทางออนไลน์ควบคู่กับการจำหน่ายตลาดเกษตรกรในพื้นที่ 



“ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ที่เด่น คือ ข้าวยำ จากข้าวสังข์หยด 2 กิโลกรัม (กิโลกรัมละ 70 บาท) นำมาแปรรูปข้าวยำ 1 กิโลกรัม ที่ขายได้ราคาประมาณ 300 บาท/กิโลกรัม นอกจากนี้ยังอยากสร้างผลิตภัณฑ์เด่น ๆ ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เช่น ผงโรยข้าวผสมปลาลูกเบร่ที่ใช้แป้งข้าวสังข์หยด เพราะรับประทานง่าย กินได้ทุกเพศทุกวัย มีคุณค่าทางอาหารสูง”



🟢 ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านท่าช้าง (โทร.08-9464-1187) จึงนับเป็นอีกแหล่งศึกษาเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการปลูกข้าวครบวงจรทั้งในเรื่องการแปรรูป การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ที่สำคัญมีความพร้อมในเรื่องของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อกระจายข้าวคุณภาพดีแก่สมาชิก และช่วยให้เกษตรกรเกิดการพึ่งพาตนเองได้ 

➖➖➖➖➖➖➖➖

#เกษตรกรก้าวหน้า #ชาวนา #ศูนย์ข้าวชุมชน #วิชชาลัยรวงข้าว #บ้านท่าช้าง #ควนขนุน #พัทลุง #กรมการข้าว #ข้าวสังข์หยด

ที่มา : https://www.facebook.com/agriculturemag

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

ข้าวสังหยด มีดีอย่างไร ??

ข้าวสังหยด มีดีอย่างไร ??


     ข้าวสังหยด มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ คือ มีกากใยอาหารสูงกว่า ข้าวพันธุ์อื่นๆ จึงมีประโยชน์ในการ ชะลอความแก่ นอกจากนี้มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และ ฟอสฟอรัสสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์ใน การบำรุงโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรง และป้องกันโรคความจำเสื่อม และยังมีสาร    แอนตี้ออกซิแดนซ์ พวก oryzanol และมี  Gamma Amino Butyric Acid (GABA) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง จึงนับได้ว่า  ข้าวพันธุ์สังหยด เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณค่าทางอาหารสูง


   คุณลักษณะของข้าวสารสังข์หยด   เมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว วิธีการหุง ให้ซาวข้าวเบาๆ โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดเพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้สูญเสียคุณค่าของข้าว เติมน้ำให้ท่วมข้าว สูง 1 ข้อนิ้ว เมื่อข้าวสุกทิ้งไว้ให้ข้าวระอุ ประมาณ 5-10 นาที หากต้องการให้ข้าวแข็งหรือนุ่มสามารถเติมหรือเพิ่มน้ำได้ตามความชอบ



   คุณค่าทางโภชนาการของ

ข้าวสังข์หยด ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
- พลังงาน 364.2 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 73 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 73.1 กรัม
- เส้นใย 4.81 กรัม
- แคลเซียม 13 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 317 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 0.32 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.01 มิลลิกรัม ไนอะซิน 6.4 มิลลิกรัม





กลุ่มข้าวอินทรีย์วิถีพนางตุง


กลุ่มข้าวอินทรีย์วิถีพนางตุง
     ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
    กลุ่มข้าวอินทรีย์วิถีพนางตุงเกิดขึ้นภายใต้ชมรมสื่อแห่งปัญญาพัฒนาเกษตร ยั่งยืน วิชชาลัยรวงข้าว ตั้งแต่ปี 2549 ปัจจุบันได้กระตุ้นให้กลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างกลุ่มให้เหมือนรวง ข้าวมีพลัง มีความสามัคคี ชมรมมีวิสัยทัศน์ เรียนรู้เพื่อพัฒนาที่นั่งยืน เป้าหมายให้ชุมชนเข็มแข็งพึ่งตนเอง มีกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ วิจัยข้าวพื้นบ้าน จัดสวัสดิการชุมชน กลุ่มข้าวอินทรีย์ กลุ่มผักอินทรีย์ กลุ่มเยาวชนและกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์
ประธานมีนโยบายลดและเลิกการใช้เคมีในการผลิตข้าวและพืชอื่น โดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่และเศษอาหารในครัวเรือน